ธุรกิจบริการที่อยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน หรือ AFAS: (Asean Frameworks Agreement on Service) ครอบคลุมธุรกิจก่อสร้าง การค้า และการซ่อมบารุง ในภาคบริการ (ไม่รวมบริการ ภาครัฐ) มีบทบาทต่อเศรษฐกิจสูงเป็นอับดับ 1 มีสัดส่วนต่อ GDP ถึง 41.74% การดูแลและผลักดันให้ภาคบริการของไทยแข่งขันกับธุรกิจที่จะเข้ามาและไปใช้ประโยชน์ในเวทีระหว่างประเทศให้ได้นั้น ถือเป็นหน้าที่หลักของ “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า”
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ ASEAN+” ว่า AFAS กำหนดรอบเปิด เสรีการค้าบริการไว้ 12 สาขา (128 สาขาย่อย) ประกอบด้วย สาขาบริการด้านธุรกิจ สาขาสื่อสาร สาขาก่อสร้างและวิศวกรรมเกี่ยวข้อง สาขาจัดจำหน่าย สาขาการศึกษา สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาการเงิน สาขาสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมสาขาการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง สาขานันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา สาขาขนส่ง และสาขาอื่นๆ โดยกำหนดแผนเปิดเสรีให้เพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้น สำหรับสาขาบริการเร่งรัด 6 สาขา ให้เพิ่มสัดส่วน การถือหุ้นเป็น 70% ในปี2553 ได้แก่ โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ สาขาสุขภาพ สาขาการท่องเที่ยว และการขนส่งทางอากาศ และให้เพิ่มสัดส่วนถือหุ้นเป็น 70% ในปี 2556 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ ขณะที่บริการอื่นๆ ให้ถือหุ้นได้ 70% ในปี 2558 ซึ่งเป็นเป้าหมายการเปิดเสรีAEC
ธุรกิจบริการของไทยส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่เรียกว่า SMEs ซึ่งมีจำนวนมากถึง 2.64ล้านราย มีการจ้างงาน เกือบ 11 ล้านคน มีมูลค่า ต่อ GDP 3.66% ขณะที่วิสาหกิจขนาดใหญ่ มีอยู่ 6,253 ราย มีการจ้างงานเพียง 2.1 ล้านคน แต่มีมูลค่าต่อ GDP สูงถึง 45.6% ชี้ให้เห็นว่า SMEs ไทยมีจุดอ่อน ทำให้ไม่สามารถออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศ
ทั้งนี้ กรมมีแผนเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจ SMEs ไทยโดยมุ่งเน้นให้ส่งเสริมพัฒนา คือ สาขาธุรกิจที่เชื่อมโยงและอยู่ภายใต้ ความตกลง AFAS มีแนวทางทำงานที่เรียกว่า บันได 3 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1สร้างองค์ความรู้และ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการ เน้นการให้องค์ความรู้ที่ SMEs ยังขาดอยู่ ให้เข้าใจกฎระเบียบต่างๆ ในการประกอบธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนและเตรียมความพร้อมแข่งขันในระดับสากล ซึ่งจะเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีความเป็นมืออาชีพในด้านการตลาด เพื่อยกระดับการให้บริการ ช่วยลดต้นทุนของกิจการ และเพิ่มสัดส่วนรายได้ให้มากขึ้น
บันไดขั้นที่ 2การยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ และมาตรฐานสากล กรมจะจัดทำเกณฑ์คุณภาพธุรกิจให้เหมาะสมกับรายสาขาธุรกิจเป้าหมาย ให้มีมาตรฐานเทียบกับสากล สะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อน ที่แท้จริงของธุรกิจสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาปรับปรุงได้อย่างตรงประเด็น โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญไปให้คาปรึกษาแนะนำเชิงลึก ถึงสถานประกอบการในลักษณะ on the job Training เพื่อให้ธุรกิจสามารถพัฒนำเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสำหรับธุรกิจที่ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแล้ว ได้แก่ โลจิสติกส์ ธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนน ธุรกิจบริการ(ก่อสร้าง ธุรกิจอู่ซ่อมรถ ธุรกิจสปา ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบริการผู้สูงอายุ) ธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และแฟรนไชส์ ซึ่งธุรกิจที่ผ่านมาตรฐานภายในแล้ว ก็จะมาประเมินว่าสามารถยกระดับ ไปสู่มาตรฐานสากลได้หรือไม่
บันไดขั้นที่ 3ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะส่งให้ธุรกิจไทยเข้มแข็ง ไม่เพียงรับการแข่งขันจากภายนอก แต่บันไดขั้นนี้ คือการสร้างโอกาสทางการตลาด และเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจสู่สากล มีแนวทางการทำงาน คือ สนับสนุนให้ธุรกิจมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายธุรกิจ เพิ่มความหลากหลายการให้บริการ สนองตอบความต้องการตลาดได้มากขึ้น
การตั้งรับที่ดีก็เป็นเหมือนการรุก ที่เมื่อเราพร้อมเรามีเกณฑ์มีมาตรฐานธุรกิจที่ดี เราก็จะออกไปแข่งขันชิงส่วนแบ่งตลาดสร้างโอกาสธุรกิจเพิ่มในต่างประเทศได้ โดยปีหน้าจะประกาศให้เป็นปีแห่งการสร้างธุรกิจไทยให้เข้มแข็งเพื่อรับ AECนอกจากนี้ ในการเข้าสู่ AEC กรมฯจะปรับภาพลักษณ์ เปลี่ยนทัศนะคติคนในองค์กร กำลังทาแบบฟอร์มขออนุญาตต่างๆ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หาบุคลากรที่มีความรู้ทางภาษาต่างประเทศเข้ามาช่วยมากขึ้น ทั้งหมดสั่งการไปแล้วและต้องให้เสร็จ ภายใน 3 เดือน และขอประกาศว่าปี 2556 ให้เป็นปีแห่งการพัฒนาส่งเสริมธุรกิจไทย รวมถึงพร้อมบริการประเทศอาเซียน ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในไทย
เมื่อกล่าวถึงการทำธุรกิจการค้าที่จะต้องมีชาวต่างชาติ รวมถึงชาติในอาเซียนด้วยแล้ว คงต้องศึกษา พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ว่าเกี่ยวโยงต่อ AFAS อย่างไร แม้ AFAS จะกำหนดให้สมาชิกอาเซียนเปิดเสรีการค้าบริการ แต่จะเข้าไปทำธุรกิจก็ต้องผ่านกติกาของแต่ละประเทศก่อนซึ่งไทยมี กม.ต่างด้าว ที่กรมดูแลอยู่ สาระสำคัญคือห้ามต่างชาติถือหุ้นในบริษัทเกิน 49.99% ถ้าเกินจากนี้ถือเป็นธุรกิจต่างด้าว ต้องเข้าสู่เงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ ทันที ถ้าเป็นธุรกิจต้องห้ามหรือกำหนดให้ต้องขออนุญาตก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย แต่ถ้าข้อตกลงอาเซียนกำหนดให้เปิดเสรี โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักธุรกิจสัญชาติอาเซียนได้ เช่น โลจิสติกส์ให้เพิ่มสัดส่วนเป็น 70% ปี 2556 บริษัทที่เข้ามาทำธุรกิจนี้ในไทยที่มีสัดส่วนชาวอาเซียน ถือหุ้นไม่เกิน 70% จะได้รับสิทธิพิเศษ คือ ให้ใช้ช่องทางตามมาตรา 11 พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ ซึ่งเป็นสิทธิที่ใช้กับสนธิสัญญาไทย-อเมริกา และข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ต่างๆที่ไทยอยู่ คือให้ธุรกิจนั้นๆมาขอหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งนี้ จะพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1. สัญชาติอาเซียน 2. เป็นธุรกิจที่อยู่ในกรอบ AFAS และ3. สัดส่วนไม่เกินตามที่ระบุ อธิบดีสามารถให้หนังสือรับรองการทำธุรกิจได้ทันที
ที่มา : โดย ปราณี หมื่นแผงวารี (กรุงเทพธุรกิจ)